บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

20.การใช้ยากับลูกในครรภ์

       ถ้าคุณแม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องใช้ยาในระหว่างการตั้งครรภ์  ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด คุณแม่ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น  และต้องบอกคุณหมอด้วยทุกครั้งว่า กำลังตั้งครรภ์อยู่และบอกอายุครรภ์ด้วยทุกครั้ง แต่หากคุณแม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ยาเป็นการเร่งด่วน ควรอ่านเอกสารกำกับยาให้ชัดเจนก่อนใช้ทุกครั้งว่าไม่มีข้อห้ามใช้สำหรับหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากยาที่ผลิตออกมาขายตามท้องตลาดทั่วไป ยังไม่มีใครยืนยันได้ว่ายาชนิดนั้นจะปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์ เพราะยาสามัญประจำบ้านหลายชนิดก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ คุณแม่จึงควรใช้ยาเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง ส่วนยาที่คุณแม่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยและไม่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์จะมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น คือ ยาพาราเซตามอล (แก้ปวดและลดไข้) ที่คุณแม่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ส่วนยาแอสไพรินนั้นห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด, ยาคลอเฟนิรามีน (แก้แพ้ แก้คัน ลดน้ำมูก แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ), ยาเพนิซิลลินและแอมพิซิลลิน (เป็นยาปฏิชีวนะ) และผงเกลือแร่

19.ห้ามผิดนัดฝากครรภ์

รูปภาพ
                                             คุณแม่บางคนอาจสงสัยว่า เหตุใดคุณหมอต้องนัดตรวจครรภ์หลายครั้ง ในเมื่อสุขภาพของคุณแม่ก็ยังคงปกติดี คุณแม่บางคนไปตรวจเพียงครั้งเดียว พอเห็นว่าตัวเองไม่เป็นอะไรก็เลยไม่ไปอีก หรือบางคนก็ไม่ไปฝากครรภ์เลย มาโรงพยาบาลอีกตอนเจ็บท้องใกล้จะคลอด เพราะมีความเชื่อผิด ๆ ที่คิดว่าถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็ไม่ต้องมาฝากครรภ์ก็ได้ แต่เชื่อไหมครับว่าความผิดปกติหลาย ๆ อย่างมักเกิดขึ้นได้เสมอหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้วหลายเดือน และบางอย่างคุณแม่ก็ไม่สามารถรับรู้เองได้ หรือบางทีไปให้หมอตรวจเพียง 1-2 ครั้ง หมอก็อาจจะยังวินิจฉัยไม่ได้เช่นกันว่าคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ปลอดภัยดีหรือไม่ ดังนั้นการตรวจครรภ์แต่ละครั้งจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าคุณหมอตรวจพบสิ่งผิดปกติก็จะได้รักษาหรือหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที อย่าไปคิดว่าพบหมอแล้วไม่เห็นจะมีอะไรเกิดขึ้นเลย เพราะการตรวจของคุณหมอจะเป็นการป้องกันปัญหาไว้ก่อนที่จะเกิด แต่สำหรับในกรณีที่ไม่สามารถไปตรวจตามที่นัดได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะติดธุระสำคัญหรือมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ ถ้าทำธุระเสร็จแล้วก็ให้รีบไปหาหมอทันที อย่ารอให้เลยวันนัดไปเป็นเด

18.ไม่ควรดื่มนมเกินวันละ 2 แก้ว

รูปภาพ
                                      คุณแม่หลาย ๆ คนพยายามดื่มนมเพื่อบำรุงครรภ์มากเกินความจำเป็น แม้ตามหลักโภชนาการแล้วคุณแม่ควรจะดื่มนมบำรุงครรภ์เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เพราะเป็นช่วงที่ทารกจะดึงแคลเซียมจากคุณแม่ไปใช้มากขึ้น ทำให้คุณแม่สูญเสียแคลเซียมในร่างกายมากกว่าปกติ แต่การดื่มนมวัววันละ 1 แก้ว หรือนมถั่วเหลืองวันละ 2 แก้วก็เพียงพออย่างมากแล้ว เพราะจากงานวิจัยนั้นพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มนมมากเกินความจำเป็น จะทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการแพ้ได้ง่าย เช่น การแพ้โปรตีนในนมวัว

17.ปัญหาผิวที่พบในช่วงตั้งครรภ์

รูปภาพ
                                                         เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวพรรณของคุณแม่ที่พบได้บ่อย คือ ผิวคล้ำ โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ซอกคอ รอบหัวนม ขาหนีบ และมีเส้นสีดำกลางท้อง ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมน คุณแม่อย่าพยายามไปขัดถูนะครับ เพราะขัดถูไปเท่าไรก็คงไม่ออก ต้องรอหลังคลอดเสร็จเท่านั้น ตรงไหนที่เคยมีสีคล้ำ ๆ ก็จะค่อย ๆ จางลงไปเอง, ปัญหาฝ้า นอกจากจะเกิดจากฮอร์โมนแล้ว แสงแดดก็ยังเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด ถ้าต้องเดินกลางแดดควรทาครีมกันแดดและกางร่มอยู่เสมอ, ปัญหาสิว เรื่องนี้ก็คงต้องรอหลังคลอดอย่างเดียวครับ อย่างบางคนก่อนตั้งครรภ์ไม่เคยมีสิวเลย พอตั้งครรภ์กลับมีสิวผุดขึ้นมา หรือบางคนที่แต่เดิมเคยเป็นสิวอยู่ก่อน แต่พอตั้งครรภ์แล้วกลับเป็นสิวน้อยลงก็มี ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนเดิมที่ไม่สมดุลกลับมาสมดุลมากขึ้นเมื่อตั้งครรภ์นั่นเอง

16.ความงามกับหญิงตั้งครรภ์

รูปภาพ
                                                              การเสริมความงามบางอย่าง คุณแม่ก็สามารถทำได้ตามปกติครับ แต่บางอย่างก็ไม่สามารถทำได้ การทาเล็บ  ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องทาครับ เพราะในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่จะมีอาการหลายอย่างเกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น อาการตัวซีดที่เป็นอีกหนึ่งอย่างที่คุณหมอจะต้องตรวจดู ซึ่งนอกจากจะตรวจดูจากหน้า ริมฝีปาก ลิ้น มือ เท้า หรืออวัยวะอื่น ๆ ที่สามารถมองเห็นได้แล้ว ก็ต้องตรวจดูจากสีของเล็บด้วยว่าซีดหรือมีเลือดฝาดหรือไม่ การทำสีผม  ในปัจจุบันยังไม่มีการทดลองในระยะยาวเพื่อยืนยันว่าการทำสีผมในระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความปลอดภัยหรือไม่ แต่มีคุณแม่จำนวนหนึ่งที่ทำสีผมในขณะตั้งครรภ์ก็ไม่พบว่ามีความผิดปกติแต่อย่างใด และจากการทดลองกับสัตว์ นักวิจัยได้ใช้สารเคมีจากผลิตภัณฑ์ย้อมสีผมในปริมาณมากกว่าที่แนะนำให้ใช้ในคนมากถึง 100 เท่า ก็ยังไม่พบความผิดปกติอะไรของพัฒนาการของตัวอ่อนในสัตว์ทดลอง แต่หากคุณแม่ต้องการจะทำสีผม ควรทำหลังจากผ่านช่วง 3 เดือนแรกไปแล้ว เพราะหนังศีรษะสามารถซึมซับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายและขับออกจากร่างกายในรูปของปัสสาวะได้ แต่เนื่องจากร่างกายสามารถซึมซับ

15.ห้ามลดน้ำหนักและอดอาหาร

รูปภาพ
                       หากคุณแม่ไม่มีข้อจำกัดทางการแพทย์ว่าต้องจำกัดอาหาร ก็ควรจะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ และเพียงพอกับความต้องการในแต่ละวันของร่างกาย เพราะจากงานวิจัยพบว่า คุณแม่ที่อดอาหารในขณะตั้งครรภ์ ทารกจะมีอัตราคลอดก่อนกำหนดสูงและสมองพิการ เนื่องจากในอาหาร 5 หมู่มีสารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงสมองของทารก เช่น โฟเลตที่ได้จากผักและผลไม้ รวมถึงวิตามินต่าง ๆ ที่ช่วยในการสร้างอวัยวะสำคัญ ส่วนคุณแม่ที่กลัวความอ้วน หลังการคลอดแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก็ช่วยลดน้ำหนักได้บ้างแล้ว

14.ห้ามสวนล้างช่องคลอดเพื่อทำความสะอาด

รูปภาพ
                                        แต่ควรจะทำความสะอาดเฉพาะอวัยวะเพศภายนอกเท่านั้น เพราะในช่องคลอดนั้นมีแบคทีเรียซึ่งคอยป้องกันมิให้เชื้ออื่นเข้าไปในช่องคลอด โดยมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ถ้าคุณแม่สวนล้างช่องคลอดอยู่บ่อย ๆ โดยการใช้น้ำยาต่าง ๆ ที่ขายกันอยู่ทั่วไป นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้ว บางครั้งยังอาจเป็นอันตรายอีกด้วย เพราะผนังช่องคลอดนั้นจะมีเนื้อเยื่อที่ละเอียดอ่อนนุ่ม การใช้น้ำยาต่าง ๆ จึงทำให้เกิดแผลได้ง่าย อีกทั้งน้ำยายังไปทำลายแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ทำให้น้ำในช่องคลอดเปลี่ยนฤทธิ์เป็นด่าง เชื้อโรคอื่น ๆ ที่เข้าก็จะเจริญเติบโตหรือติดต่อเข้าไปได้โดยง่าย

13.เพศสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์

             คุณแม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ โดยไม่มีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แต่อย่างใด เพราะในการตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน การหดเกร็งของมดลูกในขณะที่ถึงจุดสุดยอดจะไม่มีอันตรายทั้งต่อแม่และลูกน้อย (แถมยังช่วยให้มดลูกเตรียมพร้อมสำหรับการเจ็บครรภ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย) แต่ก็ควรงดมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 1 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด เพราะในช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดแน่นท้องมากและเพื่อเป็นการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ในส่วนของท่าร่วมเพศนั้น คุณพ่อและคุณแม่ควรจะมีเพศสัมพันธ์กันในท่าปกติและหลีกเลี่ยงการกดทับน้ำหนักตัวบนหน้าท้องและเต้านมของคุณแม่ เช่น ท่าคุกเข่าและท่าตะแคงที่คุณพ่ออยู่ด้านหลัง ท่านั่งที่คุณแม่นั่งอยู่บนตัก ส่วนท่าที่คุณแม่อยู่ข้างบน จะเหมาะกับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ประมาณ 4-6 เดือน เพราะขนาดของหน้าท้องยังไม่ขยายใหญ่มากจนเกินไป (ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์หากคุณแม่ยังไม่พร้อมหรือไม่มีอารมณ์ร่วม ส่วนฝ่ายคุณพ่อควรจะกระทำอย่างนุ่มนวลและอ่อนโยน ไม่หักโหมหรือรุนแรงจนเกินไป)  แต่ในกรณีดังต่อไปนี้อาจเป็นเหตุให้ต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ คือ ในกรณีที่หมอสั่งห้ามด้วยเหตุผลทางการแพทย์บางประการ, ในกรณีที่คุณแม

12.การทำงานกับคุณแม่ตั้งครรภ์

รูปภาพ
                                      คุณแม่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี รังสี หรือมีความเสี่ยงต่ออันตรายใด ๆ ที่ตัวเองไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ เพราะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์การเจริญเติบโตของลูกน้อยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับคุณแม่ที่ต้องยืนทำงานหรือนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ จะไม่มีผลต่อเจ้าตัวน้อยครับ นอกเสียจากความเครียดและอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คุณแม่ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง เปลี่ยนท่านั่งหรือยืดเส้นยืดสายบ่อย ๆ ไม่ยืนหรือนั่งตลอดทั้งวัน เพื่อช่วยทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้นและลดอาการปวดหลัง แขน และขา ส่วนอุปกรณ์ในสำนักงานที่คุณแม่ควรระวังเป็นพิเศษ คือ  เครื่องถ่ายเอกสาร เพราะตัวเครื่องจะมีรังสีเอกซเรย์แผ่ออกมาด้วย รวมถึงผงถ่านคาร์บอนที่ฟุ้งกระจายอยู่ในห้อง ถ้าคุณแม่ต้องทำงานอยู่กับเครื่องถ่ายเอกสารติดต่อกันนาน ๆ อาจจะเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่เองและกับลูกน้อยได้ ส่วนมลพิษในสถานที่ทำงาน การถ่ายเทของอากาศที่ไม่ดีพอ ควันบุหรี่ ก็อาจทำให้คุณแม่มีปัญหาเรื่องของระบบทางเดินหายใจ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และเบื่ออาหารได้  นอกจากนี้คุณแม

11.การออกกำลังกายกับคุณแม่ตั้งครรภ์

รูปภาพ
                                     สำหรับคุณแม่การออกกำลังกายพอประมาณวันละหลาย ๆ ครั้ง จะดีกว่าการออกกำลังกายอย่างหักโหมเพียงครั้งเดียว เพราะในขณะตั้งครรภ์นั้นคุณแม่จะเหนื่อยง่าย ควรออกกำลังกายง่าย ๆ เพียงเพื่อให้ผ่อนคลายสบายตัวก็พอแล้ว ถ้ารู้สึกว่าเหนื่อยเกินไปในขณะออกกำลังกาย ปวดกล้ามเนื้อ หรือเป็นตะคริว คุณแม่ก็อย่าได้ฝืนทนนะ ควรจะหยุดพักในทันที สำหรับการออกกำลังกายโดยการเล่นกีฬานั้น คุณแม่สามารถเล่นกีฬาได้แทบทุกประเภท แต่จะต้องไม่รุนแรงหักโหมจนทำให้เกิดอันตราย เช่น การเดินหรือการเดินเร็ว (เป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและวิเศษที่สุดสำหรับคุณแม่ เพียงเริ่มจากการใช้เวลาเดินช่วงละ 5-10 นาที แล้วเพิ่มเวลามากขึ้น เมื่อร่างกายเริ่มชินแล้วก็สามารถออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่วันละ 30 นาที), การขี่จักรยาน, การเล่นกอล์ฟ, การเต้นแอโรบิก (ถ้าหากคุณแม่เคยเต้นมาก่อนอย่างสม่ำเสมอ แต่ก็ไม่ควรหักโหมหรือเต้นในจังหวะที่เร็วเกินไป), โยคะ (ช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและผ่อนคลายได้ดี แถมยังช่วยลดความเจ็บปวดในการคลอดได้อีกด้วย), ว่ายน้ำ (เป็นกีฬาที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายทุกส่วนมีความแ

10.การอาบน้ำของคุณแม่ตั้งครรภ์

รูปภาพ
                                         ในเรื่องการอาบน้ำนี้มีความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่า ห้ามอาบน้ำในเวลากลางคืน เพราะเชื่อว่าจะมีน้ำคร่ำเยอะและเป็นอันตรายต่อลูกในท้อง แต่ในความจริงแล้วในสมัยนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้กัน ห้องน้ำก็ไม่มี จะอาบน้ำแต่ละทีก็ต้องลงจากเรือนไปอาบที่พื้น เวลากลางคืนมืด ๆ อาจทำให้คุณแม่ลื่นหกล้มหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อยได้ แต่ต่างจากสมัยนี้ที่มีไฟฟ้าใช้กันอย่างทั่วถึง จะอาบน้ำกันเวลาไหนก็ได้ จึงไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใดครับ อย่างไรก็ดี ก็ขอแนะนำเรื่องการอาบน้ำว่า  ควรอาบในช่วงเช้าและเย็น แต่ระวังอย่าฟอกสบู่มากนัก เพราะจะทำให้ผิวแห้งและเกิดปัญหาผิวพรรณตามมา, ไม่ควรลงแช่ในน้ำคลองหรือน้ำสกปรก เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อบริเวณช่องคลอดได้, การอาบน้ำโดยการนั่งแช่ในอ่างอาบน้ำนั้นสามารถทำได้ เพียงแต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ควรจะงด เพราะอ่างน้ำอาจลื่น ทำให้คุณแม่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ๆ ไม่ใช่เพราะจะทำให้น้ำเข้าช่องคลอดหรือเกิดการอักเสบอย่างที่เข้าใจผิดกัน, การว่ายน้ำในสระว่ายน้ำสามารถทำได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องระวังอย่าให้เป็นตะคริวจมน้ำก็พอ  (ถ้าตั้งครรภ์แก่ ๆ หน่

9.การแต่งตัวกับคุณแม่ตั้งครรภ์

รูปภาพ
                                                      ในส่วนของเสื้อผ้า คุณแม่ตั้งครรภ์ควรสวมชุดที่ใส่สบาย เนื้อผ้าไม่อับลม อาจจะหลวมเล็กน้อย ไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปหรือรัดเอวมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เลือดไหลกลับจากขาได้ช้าหรือน้อยลง อาจทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้มากขึ้น  ในส่วนของชุดชั้นในนั้นควรจะใช้ยกทรงที่มีขนาดพอเหมาะกับเต้านม คุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนบ่อยตามขนาด และควรใช้ชนิดเสริมด้านล่างอีกเล็กน้อย เพราะเต้านมมักจะใหญ่และถ่วงน้ำหนักลง เสื้อชั้นในที่ดีควรทำจากผ้าฝ้ายล้วน จะทำให้ไม่ร้อนอบอ้าว และควรเลือกชนิดที่มีปลายทรงแหลมหรือมีที่ว่างมากพอสำหรับหัวนมจะได้ไม่ถูกกด เพื่อป้องกันหัวนมบอด   ส่วนข้อแนะนำในเรื่องกางเกงในนั้น พวกที่ทำจากใยสังเคราะห์ไม่เหมาะสมที่จะใช้ เนื่องจากไม่ช่วยซับเหงื่อและระดูขาวให้ระเหยไปได้ ทำให้บริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย กางเกงในที่ดีจะต้องทำจากผ้าฝ้ายบางเบา เพราะจะช่วยดูดซึมเหงื่อได้ดี นอกจากนี้ยังต้องเปลี่ยนให้มีขนาดพอดีกับรูปร่างที่โตขึ้นด้วย อย่าทนใส่กางเกงในที่คับจนทำให้รู้สึกอึดอัด   และสำหรับการสวมใส่รองเท้า

8.ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

            คุณแม่ไม่ควรคลุกคลีกับผู้ป่วยติดเชื้อ แม้แต่คนในบ้าน รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงอย่างหมาและแมว  ถ้าเป็นไปได้คุณแม่ควรพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัดหรือสถานที่ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ  เพราะอาจทำให้คุณแม่มีโอกาสติดเชื้อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข้หวัดที่เป็นโรคที่คนเรามักจะป่วยกันได้ง่าย ๆ หากคุณแม่ไม่สบายเป็นไข้ตัวร้อน อย่าปล่อยทิ้งไว้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา แม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์ก็ตาม ยิ่งในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรระมัดระวังตัวเองให้มาก อย่าเข้าไปใกล้กับผู้ป่วยที่มีไข้สูง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีผื่นออกตามร่างกาย โดยโรคอื่น ๆ ที่คุณแม่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อนั้นจะมี โรคอีสุกอีใส  (ถ้าคุณแม่ยังไม่เคยเป็นมาก่อน อาจมีโอกาสเป็นได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ และอาจเป็นสาเหตุทำให้ลูกน้อยในครรภ์ผิดปกติตั้งแต่กำเนิดได้),  โรคคางทูม  (แม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่มีผลอะไรนักและไม่มีความเสี่ยงต่อการพิการของลูกน้อย แต่ถ้าบังเอิญในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่เกิดเป็นคางทูมขึ้นมา คุณหมอจะไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนคางทูมในระยะนี้ครับ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อ

7.การสูบบุหรี่

รูปภาพ
                                         เป็นอีกสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรงดเว้นอย่างเด็ดขาด เพราะสารนิโคติน (Nicotine) ในบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีอาการสมาธิสั้น อีกทั้งการสูบบุหรี่มากยังทำให้คุณแม่มีโอกาสแท้งและคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น ลูกที่ออกมามักตัวเล็ก น้ำหนักน้อย หัวใจเต้นเร็วกว่าเด็กปกติ บางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการที่รุนแรงได้

6.อาหารการกินกับหญิงตั้งครรภ์

รูปภาพ
                                                         โดยทั่วไปแล้วอาหารที่กินอยู่เป็นประจำจะไม่มีข้อห้ามอะไรสำหรับคุณแม่ครับ เพียงแต่คุณแม่ควรจะงดเว้นอาหารที่ทานแล้วจะเป็นโทษต่อร่างกายและอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น  อาหารรสจัด  (เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด หรืออาหารที่ใช้เครื่องปรุงแต่งมาก),  อาหารที่ก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อน  (อาหารประเภทไขมันสูง อาหารที่มีรสจัด อาหารจำพวกแป้งที่ต้องอุ่นซ้ำ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ฯลฯ),  อาหารที่ทานแล้วท้องผูก  (เพราะท้องผูกกับคนท้องเป็นของคู่กัน จะทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคริดสีดวงทวารได้ง่ายมาก),  อาหารที่เพิ่มน้ำหนักแต่ไม่ให้คุณค่า  (ไม่ได้ห้ามครับ แต่ควรจะหลีกเลี่ยงไว้เป็นดี เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมของคุณแม่ได้),  อาหารที่เป็นพิษหรืออาหารที่คุณแม่เคยกินแล้วแพ้ ,  อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารค้างแช่แข็ง และอาหารที่เก็บรักษาได้นาน ,  อาหารที่ปรุงไม่สุก  (เช่น ไข่ดิบ เนื้อหรือปลาดิบ ซูชิ อาหารทะเลสด หอยนางรม ปลาแซลมอนรมควัน สเต๊ก),  ผลไม้บางอย่าง  เช่น มะม่วงดิบ (ย่อยได้ยาก ทำให้คุณแม่เกิดอาการแน่นท้อง) ทุเรียน (ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้

5.การเดินทางกับหญิงตั้งครรภ์

รูปภาพ
                                              โดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเดินทางไปไหนไกล ๆ หรือไปท่องเที่ยวได้ตามปกติ เพราะการเดินทางไม่มีผลต่อการแท้งและการคลอดก่อนกำหนดแต่อย่างใด แต่ควรเป็นห่วงสำหรับคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องในช่วงระยะแรก ๆ เพราะอาจทำให้อ่อนเพลียและวิงเวียนศีรษะจนอาจเกิดอันตราย (ส่วนช่วงใกล้คลอดก็เป็นอันตรายเช่นกันครับ) รวมไปถึงคุณแม่ที่เคยมีประวัติการทำแท้งหรือเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมาก่อน ก็ให้ระมัดระวังเพิ่มขึ้นและไม่ควรเดินทางไปไหนไกล ๆ จากบ้านมากนัก การเดินทางด้วยการนั่งรถ  หากคุณแม่ต้องเดินทางไกลเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้คุณแม่ปวดเมื่อยได้ คุณแม่อาจบริหารเท้าซึ่งจะช่วยลดความปวดเมื่อยลงได้บ้าง แต่ถ้าคุณแม่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว  จะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยด้วยทุกครั้ง ให้คุณพ่อเป็นคนขับรถให้เสมอ  เพราะขนาดท้องที่ใหญ่มากขึ้นอาจไปค้ำกับพวงมาลัยหรือถ้าเกิดอุบัติเหตุก็อาจทำให้ท้องไปกระแทกกับพวงมาลัย และเมื่อรู้สึกเมื่อยล้าก็ควรจะหยุดพักบ้างระหว่างการเดินทางด้วยการลงมาเดินยืดเส้นยืดสายบ้าง สำหรับการซ้อนมอเตอร์ไซค์ก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกันครับ เพราะจะส่งผลกระทบกระเทือนกับลูกในคร

4.ท่านอนกับคุณแม่ตั้งครรภ์

รูปภาพ
                             เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกว่า ท่านอนที่เคยนอนสบาย ๆ กลับไม่สามารถนอนได้เหมือนเคย ใน ระยะตั้งครรภ์อ่อน ๆ ก็คงไม่เป็นอะไร คุณแม่จะนอนหงาย นอนคว่ำ นอนตะแคงก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าท้องใหญ่มากขึ้นหรือในช่วงใกล้คลอด การนอนคว่ำก็อาจทำให้ท้องค้ำตัวคุณแม่ จะนอนหงายก็ไม่ได้เพราะจะหายใจได้ไม่สะดวก เพราะขนาดท้องที่ใหญ่มากขึ้นจะไปกดตรงกะบังลม ส่วนท่านอนที่ดีที่สุดของคุณแม่ท้องใหญ่ ๆ คือ ท่านอนตะแคง จะตะแคงซ้ายหรือขวาก็ได้ตามที่ถนัด เพราะการนอนตะแคงมดลูกที่มีขนาดใหญ่จะไม่ไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ด้านหลัง จึงทำให้คุณแม่หายใจได้สะดวก เลือดลมไหลเวียนได้ดี คุณแม่จึงนอนหลับได้สบายมากขึ้น

3.เวลานอนเรื่องสำคัญ

รูปภาพ
                                                        คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรนอนดึก และควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพราะมีงานวิจัยพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่นอนน้อยกว่าวันละ 5 ชั่วโมงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ เช่น ความดันโลหิตสูงที่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

2.ความเครียด

รูปภาพ
                                           อาการเครียดในระยะสั้นอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และปวดหลัง ถ้าหากปล่อยให้เครียดนาน ๆ จะทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง เกิดความดันโลหิตสูง และเกิดโรคหัวใจตามมาได้ นอกจากนี้ยังมีวิจัยที่พบว่าความเครียดทางใจหรือความเครียดที่เกี่ยวข้องกับสภาวะทางจิตใจและสิ่งแวดล้อมทางสังคม นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมต่อคุณแม่แล้ว ยังอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางกายภาพของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย โดยเด็กที่คลอดจากแม่ที่มีความเครียดสูง มักจะคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ และอาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์เป็นกรณีพิเศษเพื่อให้เด็กกลับมามีสุขภาพที่สมบูรณ์ หากคุณแม่มีความเครียดไม่ว่าจะทางใดก็ตาม ก็ควรจะหาวิธีจัดการกับความเครียดดังกล่าว เพราะคุณแม่ที่เครียดเพียงเล็กน้อยและปรับตัวได้ดี ก็จะไม่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์

1.อันตรายรอบตัว

รูปภาพ
                                                                                งานที่คุณแม่คิดว่าเป็นงานง่าย ๆ เช่น การถูพื้น ขัดพื้นห้องน้ำ อาจทำให้คุณแม่ลื่นล้มได้ หรือแม้แต่เครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ ซึ่งคุณแม่ไม่ควรดื่ม หรือคุณพ่อที่ชอบสูบบุหรี่พ่นควันโขมง เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอันตรายภายในบ้านที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงและต้องเพิ่มความระมัดระวัง สารเคมีอันตราย  ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เครื่องใช้อยู่หลายชนิดที่มีสารเคมี เช่น ประเภทสารระเหย ได้แก่  น้ำยาล้างเล็บ น้ำยาขัดห้องน้ำ แลกเกอร์ สีทาบ้าน ฯลฯ   เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะเป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ถ้ามีสารเคมีจากภายนอกเข้าไปรบกวน จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ได้, ประเภทสเปรย์ฉีด ได้แก่   น้ำยาขัดเฟอร์นิเจอร์ โฟมใส่ผม ยาฉีดยุง ยาฆ่าแมลง ฯลฯ  เวลาฉีดจะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายและมองไม่เห็น เมื่อคุณแม่หายใจเข้าไปก็จะเป็นอันตรายกับตัวเองและลูกน้อยได้ คุณแม่จึงควรเปลี่ยนจากแบบสเปรย์มาใช้แบบเจลหรือเป็นครีมทาจะดีกว่า สารเคมีที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม  เช่น  สี

ข้อห้ามคนท้อง

รูปภาพ
                                    ในระหว่างการตั้งครรภ์สิ่งที่คุณแม่ควรนึกถึงเป็นอันดับแรกคือ  “เรื่องความปลอดภัย” คุณแม่จะต้องเพิ่มความระมัดระวังอีกหลายเท่าและดูแลตัวเองให้มากเป็นพิเศษ เพราะสิ่งแวดล้อมหรือสถานที่ต่าง ๆ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณแม่เองและกับลูกน้อยในครรภ์ได้ โดยสิ่งที่คุณแม่ควรระวังหรือละเว้นและเตรียมป้องกันอันตรายต่าง ๆ นั้น มีดังนี้